เมนู

เจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างไร โพชฌงค์ 7 จึงจะบริบูรณ์



[290] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ที่ภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะให้้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์ได้ ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความ
เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่
เผอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
นั้นจะถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้น
คว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้น
คว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้นธัมมวิจัย-
สัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ
ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อม
ถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณา
ธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อม
เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความ
เจริญและความบริบูรณ์. ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความ
เพียรแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้
ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุ
ปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติ-
สัมโพชฌงค์
ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ
ทั้งกายทั้งจิตก็ระงับได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ
ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์
ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุผู้มีกายระงับ
แล้ว มีความสุข จิตก็ตั้งมั่น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความ
สุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภ
แล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น สมาธ-ิ
สัมโพชฌงค์
ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุนั้นย่อม
เป็นผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
ให้เฉยได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุ
ปรารภแล้ว. สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความ
เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มี
ความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ใน
สมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอ-
เรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้น
คว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อม
ค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของ
ภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. เมื่อเธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อม
เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความ
เจริญและความบริบูรณ์. ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้
ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์. ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภ
แล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์
ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ทั้งกาย
ทั้งจิตก็ระงับได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ
ระงับได้ในสมัยนั้น. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์
ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุผู้มีกาย
ระงับแล้ว มีความสุข จิตก็ตั้งมั่น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความ
สุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น สมาธิสัม-
โพชฌงค์
ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ ภิกษุนั้นย่อมเป็น
ผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉย จิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่น
นั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอัน
ภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์. สมัย
นั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้
มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้.

เจริญโพชฌงค์ 7 อย่างไร วิชชาและวิมุตติจึงจะบริบูรณ์



[291] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ที่น้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... ย่อม
เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ที่น้อมไปเพื่อความปลดปล่อย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้
มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง
ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ อานาปานสติสูตรที่ 8